วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560


🌟 PROFILE





Name : Nattanit Yodhong


Nickname : Tongta


Birth Date : 12th February 1996


Domicile : Nan


Country : Thailand


Favorite Sport : Swimming


Favorite Food :  Spaghetti


Education : Hight school Srisawatwittayakarn School 

                     Bachelor's  degree Early Childhood, Faculty of Education, Chandrakasem University



           





Thai Teacher TV


สรุปวิดีโอการสอน

เรื่อง ผลไม้แสนสนุก

โดย ครูไพพร ถิ่นทิพย์


           ผลไม้แสนสนุก  เป็นการสอนกิจกรรมสำหรับเด็กอนุบาล โดยในวิดีโอนี้จะใช้วิธีพาเด็กไปศึกษาจากสถานที่จริง ก็คือการไปศึกษาเรื่องผลไม้ ที่ตลาด โดยจะใช้การบูรณาการกิจกรรมต่างๆ เข้าไปในกิจกรรมครั้งนี้ จะบูรณาการเข้ากับวิทยาศาสตร์ จะทำให้เด็กได้คิด ได้สังเกต ได้ลองชิม ได้สัมผัสกับผลไม้ของจริง ซึ่งจะทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ใช้ตา ในการมอง การสังเกต , ใช้มือ ในการสัมผัสผิวของผลไม้แต่ละชนิด , ใช้จมูก ในการดมกลิ่น , ใช้หู ในการแยกเสียง , ใช้ลิ้น เพื่อรับรู้รสชาติ ความแตกต่างของผลไม้แต่ละชนิด   

Article



สรุปบทความ


เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

         เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไร สามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัว และเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย 
         กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์ เช่น เด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก 

          กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัยมีความสำคัญหลายประการดังนี้
1.ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น (คือเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้)
2.ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก 
3.เพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวเองของเด็ก
4.ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฎ เช่น การแสดงความกังวลใจ เด็กที่เกิดความเบื่อ
5.กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ อยากสืบค้นต่อไป
6.ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่มีความยากขึ้น เด็กได้เรียนรู้ภาษาและเนื้อหาสาระแบบบูรณาการ เช่น วิธีการได้รับประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติต่อการอ่าน วิธีการสอนแบบโครงการต่อการพัฒนาหลักสูตร การใช้ประสาทสัมผัส และการใช้กล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมกับวัย



Research



                                                                    สรุปวิจัย


เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย

ปริญญานิพนธ์   มยุรี ศรีทอง

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีนาคม 2554


          จุดมุ่งหมายของการวิจัย  

      ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย โดยแยกเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้
 1. เพื่อศึกษาระดับของความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายด้านที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย 
2. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย 

          ความสำคัญ

      การศึกษาครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยในการที่จะจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยซึ่งเป็นรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม เพื่อสามารถนำมาพัฒนาความรู้ ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย รวมทั้งการพัฒนาความรู้ด้านอื่นๆของเด็กปฐมวัยต่อไป

          ขอบเขตการวิจัย

ประชากร เด็กปฐมวัย ชาย - หญิง อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2553 โรงเรียนหงสประภาสประสิทธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ซึ่งมี 2 ห้องเรียน จำนวน 70 คน
กลุ่มตัวอย่าง เด็กปฐมวัย ชาย - หญิง อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2553 โรงเรียนหงสประภาสประสิทธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลาก 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้อง แล้วทำการจับสลากนักเรียนจำนวน 20 คน เพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง

           ตัวแปรที่ศึกษา

      1. ตัวแปรอิสระ  การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
      2. ตัวแปรตาม  ความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

           ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง

       การศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 45 นาที กลุ่มตัวอย่างได้รับการทดลองทั้งสิ้น 40 ครั้ง ตามแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย



   


- แผนการสอนสัปดาห์ที่1 วันจันทร์




- แผนผังแสดงภาพรวมการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย


- ตัวอย่างแบบทดสอบ



- ภาพการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย





    


วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Learning media 2



กระจกเงา




อุปกรณ์
              1.ซองขนม  2 ซอง               2..เทปใส                               3.เทปกาว2หน้า                 
              4.กระดาษสี                          5.กระดาษลัง

วิธีทำ
1.ตัดซองขนมทั้งหมด 2 ซอง นำไปล้างและตากให้ซองแห้ง
2.นำซองขนมทั้ง 2ซอง มาตัดให้มีขนาดเท่ากับกระดาษA4
3.ติดซองขนมขนาด A4 ลงกระดาษแข็ง
4.ติดกระดาษสีลงบนกระดาษแข็ง เพื่อความสวยงาม
5.ติดเทปใสรอบๆแผ่นเพื่อป้องกันการฉีกขาด
6.ใช้เทปใสติดแผ่นA4 ทั้ง 2 แผ่น ให้ติดกัน

Learning media 1




Paper Circus Rider Toy







อุปกรณ์
 1.กระดาษ 100 ปอนด์ ขนาด A4   1 แผ่น                   4.เทปใส
 2.ลวดแข็ง             15 เซนติเมตร                               5.สีไม้
 3.กระดาษแข็ง       1 แผ่น                                          6.กรรไกร


วิธีทำ
1.วาดรูปวงกลม 1 วง และตัวการ์ตูน 1 ตัว ลงในกระดาษ ระบายสีให้สวยงาม
2.ตัดกระดาษตามรูปที่วาดไว้ โดยตัดไม่ให้ติดขอบรูปที่วาดเกินไป
3.ตัดกระดาษแข็งให้มีขนาดเท่ากับวงกลมและนำมาประกบกัน
4.ตัดกระดาษแข็งให้มีความยาวพอดีกับรูปการ์ตูนและติดไว้ข้างหลัง เพื่อความแข็งแรง
5.ดัดลวดตรงปลายข้างใดข้างหนึ่งให้งอขึ้นมา
6.นำตัวการ์ตูนมาติดกับลวดส่วนที่งอ ติดเทปใสให้แน่น
7.นำลวดส่วนที่งอเจาะจุดศูนย์กลางของวงกลม เพื่อทำเป็นวงล้อ



Diary no.15 Tuesday, 21 November 2560.



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560เวลา 8.30 - 12.30 น


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)


    อาจารย์ตรวจคลิปการทดลองวิทยาศาสตร์ของแต่ละคน โดยอาจารย์ให้ความรู้ว่า การทดลองวิทยาศาสตร์นั้น ต้องใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้
- การตั้งคำถาม
- การตั้งสมมติฐาน
- การทดลอง
- การสรุปผล
- ย้อนดูสมมติฐาน
- รายงานผลที่ได้


     จากนั้นเป็นการทำ Cooking โดยผ่านการเรียนรู้แบบ STEM

เตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์(Technolgy) 

ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบ (Engineering) ให้แต่ละคนออกแบบเกี๊ยวของของตนเอง และให้ภายในกลุ่มลงความเห็นกันว่าจะเลือกแบบของใครเพื่อเป็นแบบของกลุ่ม




ขั้นตอนที่ 2 ตักวัตถุดิบ (Math) ให้แต่ละกลุ่มตักวัตถุดิบตามจำนวนสมาชิกของตนเอง เช่น ตักหมูคนละ 1 ช้อน มี 4  = คน ตัก 4 ช้อน แครอท 1 ช้อน วุ้นเส้น 1 ช้อน ไส้กรอก 1 ช้อน แผ่นเกี๊ยว 10 แผ่น




ขั้นตอนที่ 3 ห่อเกี๊ยวตามที่ออกแบบไว้




ขั้นตอนที่ 4 ครูดำเนินขั้นตอนตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science) โดยการตั้งประเด็นปัญหากับเด็ก ตั้งสมติฐาน เริ่มวิธีการทำ และสรุป











Adoption (การนำไปใช้)


     สามารถนำการสอนแบบ STEM ไปใช้ได้จริงในการสอนในอนาคต



Assessment (การประเมิน)


- ตนเอง เข้าเรียนตรงต่อเวลา ให้ความร่วมมือกับกิจกรรม ตั้งใจฟังอาจารย์ให้ความรู้

- อาจารย์ ให้คำแนะนำต่างๆมากมาย ที่เป็นประโยชน์แก่ตัวนักศึกษาเอง

- บรรยากาศ เพื่อนตื่นเต้น สนใจกับการเรียนรู้จากการทำ Cooking


Vocabulary (คำศัพท์)


ออกแบบ = Design
ทอด = Fry
เนื้อหมู = Pork
สัดส่วน = Proportion
วุ้นเส้น = Vermicelli