วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560

Diary no.6 Tuesday,12 September 2560.


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ.2560 เวลา 08.30 - 12.30 น.



Story of subject (เนื้อหาที่สอน)



           วันนี้อาจารย์ได้ตรวจความเรียบร้อยของ blogger ของแต่ละบุคคล โดยอาจารย์ได้ให้คำแนะนำแก่นักศึกษาแต่ละคนอย่างละเอียด หลังจากนั้น เพื่อนได้นำเสนอวิจัยเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 
           
     แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
-การเปลี่ยนแปลง (Change)
-ความแตกต่าง (Variety)
-การปรับตัว (Adjustment)
-การพึ่งพาอาศัยกัน (Muturity)
-ความสมดุลย์ (Equilibrium)

     องค์ประกอบของวิทยาศาสตร์
-องค์ประกอบด้านความรู้ (เนื้อหา)
-องค์ประกอบด้านเจตคติ
-องค์ประกอบด้านกระบวนการ

     ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (เนื้อหา)
♦ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะต้องตั้งอยู่บนเงื่อนไข 3 ประการ ดังนี้ (สุวัฒน์ นิยมค้า.2531:11)
   -จะต้องเป็นความรู้ของธรรมชาติ
   -จะต้องได้จากการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์เข้าศึกษาค้นคว้า
   -จะต้องเป็นความรู้ที่ผ่านการทดสอบ หรือยืนยันแล้วว่าเป็นความจริง

♦ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สามารถจำแนกออกเป็น 5 ประเภท
   1.ข้อเท็จจริง (Fact) เช่น
      -1.1น้ำละลายในน้ำตาลได้
      -1.2น้ำไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ
      -1.3พืชที่ไม่ได้รับแสง ใบและลำต้นจะมีสีขาวซีด
   2.มโนมติหรือความคิดรวบยอด (Concept)
      -2.1แมวเป็นสัตว์มี 4 ขา มีหนวด เลี้ยงลูกด้วยนม
      -2.1แมลง คือ สัตว์ที่มี 6 ขา และลำตัวแบ่งเป็น 3 ส่วน
   3.หลักการ (Principle) เช่น
      -3.1ก๊าซเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว
      -3.2ขั้วแม่เหล็กเหมือนกันจะผลักกัน ขั้วแม่เหล็กต่างกันจะดูดกัน
   4.กฏ (Law) เช่น
      -4.1น้ำเมื่อเย็นลงจนเป็นน้ำแข็ง ปริมาตรของมันจะมากขึ้น
      -4.2วัตถุจะเคลื่อนที่ หรือหยุดนิ่ง หรือจะเปลี่ยนแปลงความเร็ว จะต้องมีแรงภายนอกไปกระทำ
   5.ทฤษฎี (Theory)
      ดังนั้น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จึงประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด สมมติฐาน กฎหรือหลักการ และทฤษฎี แต่ละองค์ประกอบเป็นความรู้จากธรรมชาติ ซึ่งเป็นความจริงและเป็นที่ยอมรับทั่วไป

          สำหรับความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นควรจะเป็นความรู้เบื้องต้นอย่างง่ายๆ ในแต่ละองค์ประกอบซึ่งได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จากการเสาะแสวงหาด้วยตนเอง โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์มากกว่า การให้ความรู้ที่เป็นเพียงข้อเท็จจริง โดยวิธีการบอกเด็ก แต่เพียงอย่างเดียว

      วิธีการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
♦ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มีดังนี้ คือ
    -ขั้นสังเกต (Observation)
    -ขั้นตั้งปัญหา (State Problem)
    -ขั้นตั้งสมมติฐาน (Make a Hypothesis)
    -ขั้นทดสอบสมมติฐาน (Testing Hypothesis)
    -ขั้นสรุป (Conclusion)

      เจตคติทางวิทยาศาสตร์
♦ นักวิทยาศาสตร์ : ยึดมั่นในอิสระและเสรีภาพแห่งความคิด เคารพความจริงและข้อเท็จจริง อดทนรอคอยความรู้จากความพยายามของตน ทำงานด้วยความรัก โดยไม่คำนึงถึงความรู้ที่ได้มานั้นจะเป็นประโยชน์ต่อใคร อะไร ที่ไหน ตนจะได้รับประโยชน์จากการศึกษาหรือไม่
   -ความอยากรู้อยากเห็น
   -ความเพียรพยายาม
   -ความมีเหตุผล
   -ความซื่อสัตย์
   -ความมีระเบียบและรอบคอบ
   -ความใจกว้าง

       ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
♦ สมาคมอเมริกันเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ (American Association for the Advancement of Science-AAAS) กำหนดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไว้ 13 ทักษะ ประกอบด้วย ทักษะขั้นพื้นฐาน (Basic science skill) 8 ทักษะ และทักษะขั้นผสม หรือบูรณาการ (Integrated science process skills) 5 ทักษะ ดังนี้
      
ทักษะขั้นพื้นฐาน
    -ทักษะการสังเกต
    -ทักษะการวัด
    -ทักษะการคำนวณ
    -ทักษะการจำแนกประเภท
    -ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ และสเปซ์กับเวลา
    -ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
    -ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
    -ทักษะการพยากรณ์
ทักษะขั้นผสมหรือบูรณาการ
    -ทักษะการตั้งสมมติฐาน
    -ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
    -ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
    -ทักษะการทดลอง
    -ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป


Adoption (การนำไปใช้)


        นำความรู้ที่ได้ไปจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กในภายภาคหน้าได้ และนำความรู้ที่ได้ไปจัดประสบการณ์ได้อย่างถูกต้อง



Assessment (การประเมิน)


- ตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน

- อาจารย์ อธิบายเพิ่มเติมเนื้อหาให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น 

- บรรยากาศ เงียบสงบ ทุกคนให้ความร่วมมือในการเรียน ไม่ส่งเสียงดัง


Vocabulary (คำศัพท์)


การเปลี่ยนแปลง = Change
ความแตกต่าง = Variety
การปรับตัว = Adjustment
หลักการ = Principle
กฎ = Law
ทฤษฎี = Theory


   






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น