วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2560

Diary no.5 Tuesday, 5 September 2560.



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560เวลา 8.30 - 12.30 น.






Story of subject (เนื้อหาที่สอน)



          ก่อนเรียนอาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมคำศัพท์ โดยครั้งที่1 ให้พูดคำศัพท์ ภาษาไทย 1 คำ ภาษาอังกฤษ 1 คำ โดยคำที่หามานั้นต้องมีเสียงที่คล้องกับคำที่เพื่อนหามา ตัวอย่างเช่น


Nose  Post  มด  รถ  Cat  Fat  ผีเสื้อ  เรือ  Tree  ปี  Love  Serve  แก้ว  แพรวพราว  Brown  Cow  สี  Me ไม้  ไฟ  Blue  ถู  Short  Not  ฟ้า  ป้า  Share  Bear  มือ  ถือ  New  สิว  Rain



         ครั้งที่ 2 คำศัพท์ที่เราพูดออกไปนั้นต้องมีคำแปล และเสียงต้องคล้องกับคำศัพท์ของเพื่อนที่หามาก่อนนั้น โดยวิธีที่ 2 นี้ อาจารย์ได้อธิบายว่า วิธีนี้ง่ายต่อการจำ เพราะเสียงคล้องจองกัน และมีความหมาย ทำให้เราได้จำศัพท์มากขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างเช่น


ดอกไม้ Flower  เธอ You  ปู Crab  Map แผนที่  ผี Ghost  โสด Single  Girl เด็กผู้หญิง  Sing ร้องเพลง  เก่ง Good  Food อาหาร  จาน Plant  แขน Arm  สาม Three  She หล่อน  ก่อน Before  พ่อ Father    เบอร์โทรศัพท์ Telephone Number



         หลังจากจบกิจกรรมแรก อาจารย์ให้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน แล้วให้ค้นคว้านักทฤษฎีที่กล่าวถึงพัฒนาการด้านสติปัญญา 1)ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของบรูเนอร์  2)ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเพียเจต์  *โดยกลุ่มดิฉันได้ ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเพียเจต์*

       1.ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของบรูเนอร์
     
แนวคิดที่สำคัญของ บรูเนอร์ มีดังนี้ 

1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ

  1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
  2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
  3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)








       2.ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเพียเจต์

          เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว 

             พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้

        1)ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ 

        2)ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ 

- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง 

-ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์

        3)ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ 

        4)ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎีได้



   



Adoption (การนำไปใช้)


        ในอนาคตถ้าเราไปสอนเด็ก เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็ก และจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Assessment (การประเมิน)


- ตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา แสดงความคิดเห็นต่างๆภายในกลุ่มของตนเอง

- อาจารย์  เพิ่มเติมความรู้ให้เสมอ เมื่อข้อมูลที่เราหามานั้นไม่ครบถ้วน

- บรรยากาศ  เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม


Vocabulary (คำศัพท์)


การอนุรักษ์ = Conservation
ประสบการณ์ = Experience
การเสริมแรง = Reinforcement
สติปัญญา = Intelligence
ประสบการณ์ = Experience

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น