วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Learning media 2



กระจกเงา




อุปกรณ์
              1.ซองขนม  2 ซอง               2..เทปใส                               3.เทปกาว2หน้า                 
              4.กระดาษสี                          5.กระดาษลัง

วิธีทำ
1.ตัดซองขนมทั้งหมด 2 ซอง นำไปล้างและตากให้ซองแห้ง
2.นำซองขนมทั้ง 2ซอง มาตัดให้มีขนาดเท่ากับกระดาษA4
3.ติดซองขนมขนาด A4 ลงกระดาษแข็ง
4.ติดกระดาษสีลงบนกระดาษแข็ง เพื่อความสวยงาม
5.ติดเทปใสรอบๆแผ่นเพื่อป้องกันการฉีกขาด
6.ใช้เทปใสติดแผ่นA4 ทั้ง 2 แผ่น ให้ติดกัน

Learning media 1




Paper Circus Rider Toy







อุปกรณ์
 1.กระดาษ 100 ปอนด์ ขนาด A4   1 แผ่น                   4.เทปใส
 2.ลวดแข็ง             15 เซนติเมตร                               5.สีไม้
 3.กระดาษแข็ง       1 แผ่น                                          6.กรรไกร


วิธีทำ
1.วาดรูปวงกลม 1 วง และตัวการ์ตูน 1 ตัว ลงในกระดาษ ระบายสีให้สวยงาม
2.ตัดกระดาษตามรูปที่วาดไว้ โดยตัดไม่ให้ติดขอบรูปที่วาดเกินไป
3.ตัดกระดาษแข็งให้มีขนาดเท่ากับวงกลมและนำมาประกบกัน
4.ตัดกระดาษแข็งให้มีความยาวพอดีกับรูปการ์ตูนและติดไว้ข้างหลัง เพื่อความแข็งแรง
5.ดัดลวดตรงปลายข้างใดข้างหนึ่งให้งอขึ้นมา
6.นำตัวการ์ตูนมาติดกับลวดส่วนที่งอ ติดเทปใสให้แน่น
7.นำลวดส่วนที่งอเจาะจุดศูนย์กลางของวงกลม เพื่อทำเป็นวงล้อ



Diary no.15 Tuesday, 21 November 2560.



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560เวลา 8.30 - 12.30 น


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)


    อาจารย์ตรวจคลิปการทดลองวิทยาศาสตร์ของแต่ละคน โดยอาจารย์ให้ความรู้ว่า การทดลองวิทยาศาสตร์นั้น ต้องใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้
- การตั้งคำถาม
- การตั้งสมมติฐาน
- การทดลอง
- การสรุปผล
- ย้อนดูสมมติฐาน
- รายงานผลที่ได้


     จากนั้นเป็นการทำ Cooking โดยผ่านการเรียนรู้แบบ STEM

เตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์(Technolgy) 

ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบ (Engineering) ให้แต่ละคนออกแบบเกี๊ยวของของตนเอง และให้ภายในกลุ่มลงความเห็นกันว่าจะเลือกแบบของใครเพื่อเป็นแบบของกลุ่ม




ขั้นตอนที่ 2 ตักวัตถุดิบ (Math) ให้แต่ละกลุ่มตักวัตถุดิบตามจำนวนสมาชิกของตนเอง เช่น ตักหมูคนละ 1 ช้อน มี 4  = คน ตัก 4 ช้อน แครอท 1 ช้อน วุ้นเส้น 1 ช้อน ไส้กรอก 1 ช้อน แผ่นเกี๊ยว 10 แผ่น




ขั้นตอนที่ 3 ห่อเกี๊ยวตามที่ออกแบบไว้




ขั้นตอนที่ 4 ครูดำเนินขั้นตอนตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science) โดยการตั้งประเด็นปัญหากับเด็ก ตั้งสมติฐาน เริ่มวิธีการทำ และสรุป











Adoption (การนำไปใช้)


     สามารถนำการสอนแบบ STEM ไปใช้ได้จริงในการสอนในอนาคต



Assessment (การประเมิน)


- ตนเอง เข้าเรียนตรงต่อเวลา ให้ความร่วมมือกับกิจกรรม ตั้งใจฟังอาจารย์ให้ความรู้

- อาจารย์ ให้คำแนะนำต่างๆมากมาย ที่เป็นประโยชน์แก่ตัวนักศึกษาเอง

- บรรยากาศ เพื่อนตื่นเต้น สนใจกับการเรียนรู้จากการทำ Cooking


Vocabulary (คำศัพท์)


ออกแบบ = Design
ทอด = Fry
เนื้อหมู = Pork
สัดส่วน = Proportion
วุ้นเส้น = Vermicelli

Diary no.14 Tuesday, 25 October 2560.



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
เวลา 8.30 - 12.30 น.



Story of subject (เนื้อหาที่สอน)


          อาจารย์ได้ตรวจแผนผังความคิดที่แต่ละกลุ่มได้ทำมา โดยอาจารย์จะแนะแนวทางให้ เพื่อความถูกต้อง เหมาะสมกับเนื้อหานั้นๆ โดยกลุ่มกล้วยของพวกเราก็จะได้เพิ่มเติมเนื้อหาในหัวข้อต่างๆมากขึ้น



       
         เนื้อหาที่ได้แก้ไขแล้ว จะมีดังนี้

   ชนิด
- กล้วยน้ำว้า
- กล้วยไข่
- กล้วยหอม
- กล้วยเล็บมือนาง

   ลักษณะ
สี
- เขียว
- เหลือง
- น้ำตาล
รูปทรง
- ทรงรี
- ทรงสั้น
- ทรงยาว
กลิ่น
- หอม
ส่วนประกอบ
- เปลือกห่อหุ้ม
- มีเม็ด
- เนื้อสีขาว

   ประโยชน์
ถนอมอาหาร
- ตาก
- กวน
- ฉาบ
ประกอบอาหาร
     เครื่องดื่ม
- น้ำกล้วยปั่น  
     ของหวาน
- กล้วยทอด
- กล้วยปิ้ง
- เค้กกล้วยหอม
- ไอศกรีม
- กล้วยบวชชี
สร้างรายได้
- ชาวนสวน
- คนขับรถส่งกล้วย
      ค้าขาย
- คนขายผลไม้
- คนขายกล้วยปิ้ง
- คนขายกล้วยทอด
- คนขายไอศกรีม
      รักษาโรค
- กล้วยดิบแก้กระเพราะ
- กล้วยสุกแก้ท้องผูก
- กล้วยห่ามแก้ท้องเสีย
- กล้วยงอมต้านมะเร็ง

   ข้อควรระวัง
- ไม่พูดขณะรับประทาน
- เก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม
- หากกินกล้วยที่ไม่สุกจะทำให้เกิดลมในท้อง



   นำหน่วยการเรียนรู้มาเชื่อมโยงกับกรอบมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ 8 สาระ
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต → ให้เห็นกระบวนการดำรงชีวิต เช่น เรื่องกล้วยเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม → มีความสัมพันธ์กันและบอกได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร → การทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง เช่น การแปรรูปกล้วยหรือนำกล้วยไปประกอบอาหาร
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ → การจม การลอย
สาระที่ 5 พลังงาน → การใช้พลังงานที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการทำกล้วยตาก
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก → การเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีผลกระทบต่อมนุษย์ เช่น การเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ พายุทำให้กล้วยเกิดความเสียหาย
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ → การเกิดกลางวัน กลางคืน
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี → กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่
1) การตั้งคำถาม
2) การตั้งสมมติฐาน
3) การทดลอง
4) การสรุปผล
5) ย้อนดูสมมติฐานว่าเป็นจริงหรือไม่
6) รายงานผลที่ได้




Adoption (การนำไปใช้)


     รู้จักการนำเอาข้อมูลต่างๆในแผนผังความคิดเรื่อง กล้วย ไปเชื่อมโยงกับกรอบมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 8 สาระ


Assessment (การประเมิน)


- ตนเอง เข้าเรียนตรงต่อเวลา ช่วยเพื่อนคิด หาข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขแผนผังความคิดให้สมบรูณ์

- อาจารย์ แนะแนวเรื่องการทำแผนผังความคิด ให้คำปรึกษาเมื่อนักศึกษาเกิดความสงสัย

- บรรยากาศ ทุกกลุ่มตั้งใจแก้ไขงานของตนเองให้ถูกต้อง สมบรูณ์ 



Vocabulary (คำศัพท์)


หมึก = Squid
ผลกระทบ = Effect
ข้าว = Rice
น้ำ = Water
กล้วย = Banana

   



วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Diary no.13 Tuesday, 25 October 2560.



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
เวลา 8.30 - 12.30 น.


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)


          อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 4 -5 คน ช่วยกันระดมความคิดทำแผนผัง โดยให้ทำตามหน่วยที่ได้ตกลงกันภายในกลุ่ม เมื่อได้เรื่องที่จะทำแล้วต้องนำเนื้อหามาแยกเป็น 5 หัวข้อ ดังนี้
1)ชนิด
2)ลักษณะ
3)วิธีการดูแลรักษา
4)ประโยชน์
5)ส่วนประกอบ

              กลุ่มของข้าพเจ้าได้เลือกหน่วย กล้วย ซึ่งได้จำแนกข้อมูลออกตามหัวข้อดังนี้



1)ชนิด 
-กล้วยน้ำหว้า
-กล้วยหอม
-กล้วยไข่
-กล้วยเล็บมือนาง

2)ลักษณะ
-ทรงเรียว ยาว
-มีเปลือกสีเหลืองห่อหุ้ม
-เนื้อข้างในสีขาว
-เป็นเครือ

3)วิธีการดูแลรักษา
-หุ้มเกลือหลังจากตัดปลี
-ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
-ให้ปุ๋ย 1-2 ครั้ง ต่อ 1-3 เดือน
-หลังปลูก 3 เดือน ให้แต่งหน่อ

4)ประโยชน์
-นำก้านกล้วยมาทำของเล่น
-นำมาทำอาหาร
-นำใบตองมาทำกระทง บายศรี
-ช่วยแก้โรคต่างๆได้

5)ส่วนประกอบ
-ต้นกล้วย
-ปลีกล้วย
-กล้วย
-ใบกล้วย


Adoption (การนำไปใช้)


      ความรู้จากการที่ได้ร่วมกันทำแผนผังความคิด เป็นความรู้ที่จะติดตัวเราไปเมื่อเราไปฝึกสอน นำไปใช้ในการเรียนแบบโครงการ 


Assessment (การประเมิน)


ตนเอง ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม เสนอความคิดเห็นของตนเองและฟังความคิดเห็นของเพื่อน

อาจารย์ ให้คำแนะนำในการทำงาน

บรรยากาศ ทุกๆคนต่างช่วยกันระดมความคิด เพื่อให้ผลงานออกมาดี


Vocabulary (คำศัพท์)


กล้วย = Banana
ส่วนประกอบ = Composition
ประโยชน์ = Benefit
ชนิด = Kind
การดูแลรักษา = Attendance


Diary no.12 Tuesday, 31 October 2560.



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560
เวลา 8.30 - 12.30 น.




Story of subject (เนื้อหาที่สอน)



                 กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแบ่งเป็น 8 สาระ

 สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
 สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
 สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
 สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
 สาระที่ 5 พลังงาน
 สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
 สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
 สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี






Adoption (การนำไปใช้)


    นำความรู้ที่ได้ไปจัดการเรียนรู้ให้เด็กได้ตรงกับจุดมุ่งหมายตามที่กรอบมาตรฐานได้กำหนดไว้ 



Assessment (การประเมิน)


ตนเอง  (ไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากป่วย)

อาจารย์

บรรยากาศ



Vocabulary (คำศัพท์)


มาตรฐาน = Standard
สิ่งแวดล้อม = Environment
แรง = Power
การเคลื่อนที่ = Migration
อวกาศ = Space



Diary no.11 Tuesday, 25 October 2560.



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560
เวลา 8.30 - 12.30 น.




Story of subject (เนื้อหาที่สอน)







        
            ปรากฏการณ์ : การละลาย

            การทดลอง : ความลับของสีดำ


                                                  อุปกรณ์

  1.กระดาษทิชชู่ตัดเป็นวงกลม (ตัดรูตรงกลาง)  3 แผ่น
  2.กระดาษทิชชู่ม้วนเป็นแท่ง  3 แท่ง
  3.แก้วน้ำ  1 ใบ
  4.ปากกาเมจิกสีดำกันน้ำ  1 ด้าม
  5.ปากกาเมจิกสีดำไม่กันน้ำ  2 ด้าม (ต่างยี่ห้อกัน)


                                                  วิธีการทดลอง

  1.นำปากกาเมจิกทุกแบบ วาดลงในกระดาษ โดยวาดรอบๆรูตรงกลางของกระดาษ
  2.นำกระดาษที่ม้วนเป็นแท่งสอดเข้ารูตรงกลางของกระดาษทุกแผ่น
  3.นำปลายของแท่งกระดาษจุ่มลงไปในแก้วน้ำ โดยกระดาษแผ่นที่วาดนั้นควรให้อยู่บนปากแก้ว สังเกตผลการทดลอง


                                                  ผลจากการสังเกต

  -กระดาษที่วาดด้วยปากกาเมจิกสีดำกันน้ำ เมื่อน้ำซึมผ่านกระดาษ ไปยังรูปที่วาด สีจะไม่กระจายออกไปรอบๆ
  -ปากกาเมจิกสีดำไม่กันน้ำ ด้ามที่ 1 และด้ามที่ 2  เมื่อน้ำซึมผ่านกระดาษ ไปยังรูปที่วาด น้ำจะพาหมึกออกไปด้วย และสีดำจะถูกแยกออกเป็นสีต่างๆ
  

                               
                                                  สรุปผลการทดลอง

     สีดำเกิดจากการรวมตัวของสีหลายๆสี ซึ่งสังเกตได้จากการทดลองที่ใช้น้ำเป็นตัวละลายแยกสีต่างๆบนกระดาษ โดยสีที่สามารถละลายน้ำได้ดีจะแพร่ไปได้ไกลจนถึงขอบกระดาษกรอง ส่วนสีที่ละลายน้ำได้ไม่ดีจะแพร่อยู่บริเวณตรงกลางเท่านั้น การทดลองนี้เป็นการแบ่งแยกสีโดยใช้วิธีที่เรียกว่า โครมาโทกราฟี โดยต้องมีสารที่สามารถละลายได้และนำพาสารผสมที่ต้องการได้ สารนี้เรียกว่า ตัวทำละลาย ซึ่งการทดลองนี้คือ น้ำ นอกจากนี้สารผสมและตัวทำละลายจะเคลื่อนที่อยู่ในวัตถุที่มีสถานะของแข็งที่เรียกว่า ตัวดูดซับ ซึ่งก็คือกระดาษทิชชู่

Vocabulary (คำศัพท์)


ทดลอง = Test
กระดาษกรอง = Filter paper
น้ำ = Water
หมึก = Ink
ละลาย = Melt

  



Diary no.10 Tuesday, 17 October 2560.


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560เวลา 8.30 - 12.30 น.



Story of subject (เนื้อหาที่สอน)


   
         สรุปความรู้ที่ได้จากการชมวิดีโอ เรื่อง อากาศ : อากาศมีตัวตนและต้องการที่อยู่ เมื่อมีอะไรมาแทนที่อากาศจะเคลื่อนที่ออกไป โดยได้ทำการทดลอง 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 ทำการทดลองกับลูกโป่ง และครั้งที่ 2 ทำการทดลองกับแก้วน้ำ

                    การนำเสนอสื่อจากวัสดุเหลือใช้ (งานเดี่ยว)

     ชื่อสื่อ Paper Circus Rider Toy





     ความรู้ที่ได้รับ สื่อชิ้นนี้จะเคลื่อนที่ไปได้โดยการหมุนของวงล้อ



                    การนำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์สำหรับเข้ามุม (งานคู่)

     ชื่อสื่อ กระจกเงา

        


     ความรู้ที่ได้รับ เมื่อเรานำวัตถุไปวางไว้ตรงกลางของกระจกจะทำให้เกิดภาพสะท้อนภาพวัตถุนั้น โดยที่องศาการกางกระจกมีผลในการสะท้อนภาพของวัตถุนั้น เมื่อเราทำองศาของกระจกให้มีองศาที่แคบลงจะทำให้เกิดภาพสะท้อนออกมามีจำนวนหลายภาพ แต่ถ้าเรากางกระจกให้มีองศาที่กว้างจะให้เกิดภาพสะท้อนที่มีจำนวนน้อย


Adoption (การนำไปใช้)


            สามารถนำความรู้ที่สืบค้นเพื่อมาประดิษฐ์สื่อนั้น ในอนาคตสามารถนำไปต่อยอดในการทำสื่อชิ้นต่างๆได้อย่างมีประโยชน์มากมาย



Assessment (การประเมิน)


ตนเอง เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอผลงาน จดบันทึกความรู้เพิ่มเติม

อาจารย์ ให้ความรู้เพิ่มเติมในส่วนที่นักศึกษายังไม่ทราบ ทำให้เข้าใจมากขึ้น

บรรยากาศ ทุกคนเตรียมความพร้อมในการนำเสนอสื่อเป็นอย่างดี


Vocabulary (คำศัพท์)


กระจก = Pane of glass
ประดิษฐ์ = Artificial
ของเล่น = Toy
การทดลอง = Test
การหมุน = Rotation