วันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Diary no.9 Tuesday, 10 October 2560.


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560เวลา 8.30 - 12.30 น.



Story of subject (เนื้อหาที่สอน)


     เข้าร่วมงานสัมนาของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาการศึกษาปฐมวัย

        การเรียนการสอนแบบโครงการ (ดาวเรือง)

  การเรียนการสอนแบบโครงการมี 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้นโครงการ 
    ถามเด็กๆถึงประสบการณ์เดิมที่มีเกี่ยวกับดอกดาวเรือง และให้เด็กลองตั้งคำถามเกี่ยวกับดอกดาวเรืองที่เด็กๆอยากรู้

ระยะที่ 2 ระยะพัฒนาโครงการ
     ร่วมกันหาข้อมูลเกี่ยวกับดอกดาวเรืองเพิ่มเติม เพื่อที่จะให้เด็กได้มีประสบการณ์ใหม่ และครูก็ได้จัดโครงการเรื่องดาวเรืองขึ้นมาด้วย

ระยะที่ 3 ระยะสรุปโครงการ 
     สรุปความรู้ที่ได้รับจากโครงการดาวเรือง โดยครูและเด็กแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ให้เด็กได้นำเสนอผลงานของตนเอง 
















         การจัดการเรียนสอนแบบไฮสโคป (High Scope)

  ใช้หลักปฎิบัติ 3 ประการ คือ

1)การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฎิบัติ หรือการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

2)การปฎิบัติ (Do) คือการลงมือทำกิจกรรมที่วางแผนไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง

3)การทบทวน (Review) เด็กจะเล่าถึงผลงานของตนเองที่ได้ลงมือกระทำว่าตนเองได้ทำตามแผนที่วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง




         อาเซียน

-ร้านค้า ขายอาหารต่างๆที่เป็นอาหารประจำของแต่ละชาติที่อยู่ในประเทศอาเซียน เพื่อให้เด็กได้เล่นบทบาทสมมติ





-เกมจับคู่อาเซียน ให้เลือกการแต่งกายของประเทศต่างๆ แล้วหาว่าตัวไหนกับคู่กับชุดไหนของประเทศอาเซียนนั้นๆ



-ร้านดอกไม้อาเซียน มีดอกไม้ต่างๆที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศนั้นๆด้วย










Adoption (การนำไปใช้)


    เป็นแนวทางที่จะทำให้เรานั้นได้นำความรู้ในวันนี้ไปเป็นแบบอย่างในภายภาคหน้า เช่น การสอนแบบ
โครงการ ครูควรให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นของตนเองให้มากที่สุด ครูมีหน้าที่ชี้แนะเพียงเท่านั้น


Assessment (การประเมิน)


- ตนเอง  ให้ความสนใจกับสิ่งต่างๆที่พี่ๆอธิบายให้ฟัง เมื่อมีความสงสัยจะถามคำถาม

- อาจารย์  แนะนำก่อนเข้าชมว่าควรทำอย่างไร เช่น สรุปความรู้ต่างๆที่ได้รับ

- บรรยากาศ  เพื่อนๆให้ความสนใจ  


Vocabulary (คำศัพท์)


สัมมนา = Seminar
อาเซียน = Association of Southeast Asian Nations
ดาวเรือง = Marigold
โครงการ = Project
คู่มือการใช้งาน = User manual 








วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Diary no.8 Tuesday, 3 October 2560.


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560เวลา 8.30 - 12.30 น.




Story of subject (เนื้อหาที่สอน)


        เพื่อนนำเสนอวิจัยเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีสมมติฐาน คือ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง

        สรุป ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง แต่หลังจากการใช้แผนการจัดกิจกรรมเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่าง มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยตนเอง ทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์

          จากนั้นอาจารย์ให้ทำกิจกรรมร้องเพลง โดยความพิเศษของเพลงคือ เป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษและมีความหมายของคำนั้นๆด้วย


 One หนึ่ง  ถึง To  You ท่าน  หวาน Sweet  Sit นั่ง  Young หนุ่ม  Room ห้อง  Long ยาว  ขาว White  ไกล Far  ตา  Eye  ใน In  กิน Eat  This นี้  Tea น้ำชา  มา Come  Arm แขน  Hand มือ  ถือ Hole  
โยน Throw  Go ไป  ไม่ Not  Pot หม้อ  Water น้ำ  ดำ Black  แบก Carry  Tree ต้นไม้  My ของฉัน

        การที่นำคำศัพท์พร้อมความหมายมาแต่งเป็นเพลง เป็นการช่วยในการจดจำคำศัพท์ได้อย่างดี สนุกสนานพร้อมมีความรู้


           กิจกรรมในห้องเรียน อาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 1 แผ่น ให้นักศึกษาแบ่งครึ่งกับเพื่อน แล้วพับกระดาษ โดยแผ่นด้านล่างต้องยาวกว่าด้านบน เผื่อง่ายต่อการจับกระดาษ จากนั้นวาดรูปลงในกระดาษทั้งด้านหน้าและด้านหลัง *โดยการวาดนั้นแผ่นหลังควรวาดแตกต่างจากแผ่นหน้าเล็กน้อย*

แผ่นหน้า


แผ่นหลัง
           เมื่อพลิกแผ่นหน้าอย่างรวดเร็วก็จะทำให้รูปภาพเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนรูปร่างไป สื่อชิ้นนี้สามารถให้เด็กๆเล่นได้ และประดิษฐ์ได้ง่ายด้วยตนเอง 


   
   เทคนิคการสอนปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์

           กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific process) เป็นกระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการค้นคว้าหาความรู้จากธรรมชาติได้อย่างมีระบบ มีองค์ประกอบ ดังนี้

1. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
2. เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific attitude)
3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific skill)

      1. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)

  เป็นวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้แสวงหาความรู้ แก้ปัญหา โดยมีขั้นตอน ดังนี้



       2. เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific attitude)

   คือ แนวคิดหรือความรู้สึกของบุคคลที่มีแนวโน้มแสดงพฤติกรรม ต่อไปนี้ 

      ➨ ความอยากรู้อยากเห็น
      ➨ มีความเพียรพยายาม
      ➨ ความมีเหตุผล
      ➨ ความซื่อสัตย์
      ➨ ความมีระเบียบ รอบคอบ
      ➨ ความใจกว้าง


       3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific skill)

     ความสามารถ และความชำนาญในการคิด เพื่อค้นหาความรู้ และการแก้ไขปัญหา โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีทั้งสิ้น 13 ทักษะ โดยจัดแบ่งออกเป็น 2 หมวด คือ

      ⏩ ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ 

      ⏩ ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ 5 ทักษะ

           ทักษะพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้น (Basic Science Process Skill)



           
           ทักษะขั้นบูรณาการ หรือ ทักษะเชิงซ้อน (Intergrated Science Process Skill)




Adoption (การนำไปใช้)


         สามารถนำความรู้ที่ได้ เช่น การพลิกกระดาษให้รูปภาพเคลื่อนไหว ไปสอนเด็กได้จริงๆ ให้เด็กประดิษฐ์ของเล่นเป็นของตนเองได้ โดยวิธีการทำนั้นไม่ยุ่งยาก เด็กสามารถทำเองได้ วัสดุอุปกรณ์ไม่มาก แค่มีกระดาษ1แผ่น ก็จะได้ของเล่นง่ายๆอีกด้วย


Assessment (การประเมิน)


- ตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา ทำงานที่ได้รับมอบหมายในเวลาที่กำหนด

- อาจารย์  มีการแทรกความรู้ ความสนุกต่างๆในการเรียนการสอน

- บรรยากาศ  ทุกคนให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่ทำ


Vocabulary (คำศัพท์)


การสื่อความหมายข้อมูล = Communicating
การพยากรณ์ = Predicting
การสังเกต = Observe    
การวัด = Measuring
การจำแนกประเภท = Classifying