วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

Diary no.7 Tuesday, 19 September 2560.



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560เวลา 8.30 - 12.30 น.





Story of subject (เนื้อหาที่สอน)



           เพื่อนนำเสนอวิดีโอสื่อการสอนเรื่อง สอนวิทย์คิดสนุก โดย อ.กรรณิการ์ เฉิน วิธีการสอนคือ ใช้การตั้งคำถามให้เด็กตอบ ให้เด็กสังเกต เพื่อฝึกการคิด การวิเคราะห์ และการจินตนาการ โดยครูจะไม่ตัดสินว่าถูกหรือผิด แต่จะให้เด็กอธิบายให้ฟัง

           และเพื่อนอีก1คนได้นำเสนอวิจัย การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบโครงการ โดยสาระที่เด็กควรเรียนรู้คือ 1.ตัวเรา 2.บุคคลและสถานที่ 3.ธรรมชาติรอบตัว 4.สิ่งต่างๆรอบตัว

           หลังจากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ4คน ให้คิดเมนูอาหาร 1 เมนู โดยใช้หลักของ STEM มาคิดเมนู 
                     
S = science
T = technology
E = engineering
M = math

                                    กลุ่มของข้าพเจ้าได้คิดเมนู ข้าวทาโกยากิ

กระบวนการ
-ตั้งประเด็นปัญหา
-สมมติฐาน
-ทดลอง
-สรุป

ขั้นตอนการทำข้าวทาโกยากิ






Adoption (การนำไปใช้)


       นำความรู้ที่ได้ไปจัดการเรียนการสอนแบบโครงการได้อย่างเข้าใจ ถูกต้อง ทำให้เด็กๆได้สนุกพร้อมมีความรู้ในกิจกรรมที่คุณครูจัดให้ และพร้อมจะส่งเสริมให้เด็กได้ใช้กระบวนการคิดด้วยตนเอง 


Assessment (การประเมิน)


ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา ช่วยเสนอความคิดในการทำงานกลุ่ม

อาจารย์  เพิ่มเติมความรู้ให้นักศึกษาอย่างละเอียด

บรรยากาศ  ทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่ม


Vocabulary (คำศัพท์)


วัตถุดิบ = Raw material
สัดส่วน = Proportion
สังเกต = Observe
ข้าว =  Rice
ผสม = Mix

วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560

Diary no.6 Tuesday,12 September 2560.


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ.2560 เวลา 08.30 - 12.30 น.



Story of subject (เนื้อหาที่สอน)



           วันนี้อาจารย์ได้ตรวจความเรียบร้อยของ blogger ของแต่ละบุคคล โดยอาจารย์ได้ให้คำแนะนำแก่นักศึกษาแต่ละคนอย่างละเอียด หลังจากนั้น เพื่อนได้นำเสนอวิจัยเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 
           
     แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
-การเปลี่ยนแปลง (Change)
-ความแตกต่าง (Variety)
-การปรับตัว (Adjustment)
-การพึ่งพาอาศัยกัน (Muturity)
-ความสมดุลย์ (Equilibrium)

     องค์ประกอบของวิทยาศาสตร์
-องค์ประกอบด้านความรู้ (เนื้อหา)
-องค์ประกอบด้านเจตคติ
-องค์ประกอบด้านกระบวนการ

     ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (เนื้อหา)
♦ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะต้องตั้งอยู่บนเงื่อนไข 3 ประการ ดังนี้ (สุวัฒน์ นิยมค้า.2531:11)
   -จะต้องเป็นความรู้ของธรรมชาติ
   -จะต้องได้จากการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์เข้าศึกษาค้นคว้า
   -จะต้องเป็นความรู้ที่ผ่านการทดสอบ หรือยืนยันแล้วว่าเป็นความจริง

♦ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สามารถจำแนกออกเป็น 5 ประเภท
   1.ข้อเท็จจริง (Fact) เช่น
      -1.1น้ำละลายในน้ำตาลได้
      -1.2น้ำไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ
      -1.3พืชที่ไม่ได้รับแสง ใบและลำต้นจะมีสีขาวซีด
   2.มโนมติหรือความคิดรวบยอด (Concept)
      -2.1แมวเป็นสัตว์มี 4 ขา มีหนวด เลี้ยงลูกด้วยนม
      -2.1แมลง คือ สัตว์ที่มี 6 ขา และลำตัวแบ่งเป็น 3 ส่วน
   3.หลักการ (Principle) เช่น
      -3.1ก๊าซเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว
      -3.2ขั้วแม่เหล็กเหมือนกันจะผลักกัน ขั้วแม่เหล็กต่างกันจะดูดกัน
   4.กฏ (Law) เช่น
      -4.1น้ำเมื่อเย็นลงจนเป็นน้ำแข็ง ปริมาตรของมันจะมากขึ้น
      -4.2วัตถุจะเคลื่อนที่ หรือหยุดนิ่ง หรือจะเปลี่ยนแปลงความเร็ว จะต้องมีแรงภายนอกไปกระทำ
   5.ทฤษฎี (Theory)
      ดังนั้น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จึงประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด สมมติฐาน กฎหรือหลักการ และทฤษฎี แต่ละองค์ประกอบเป็นความรู้จากธรรมชาติ ซึ่งเป็นความจริงและเป็นที่ยอมรับทั่วไป

          สำหรับความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นควรจะเป็นความรู้เบื้องต้นอย่างง่ายๆ ในแต่ละองค์ประกอบซึ่งได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จากการเสาะแสวงหาด้วยตนเอง โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์มากกว่า การให้ความรู้ที่เป็นเพียงข้อเท็จจริง โดยวิธีการบอกเด็ก แต่เพียงอย่างเดียว

      วิธีการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
♦ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มีดังนี้ คือ
    -ขั้นสังเกต (Observation)
    -ขั้นตั้งปัญหา (State Problem)
    -ขั้นตั้งสมมติฐาน (Make a Hypothesis)
    -ขั้นทดสอบสมมติฐาน (Testing Hypothesis)
    -ขั้นสรุป (Conclusion)

      เจตคติทางวิทยาศาสตร์
♦ นักวิทยาศาสตร์ : ยึดมั่นในอิสระและเสรีภาพแห่งความคิด เคารพความจริงและข้อเท็จจริง อดทนรอคอยความรู้จากความพยายามของตน ทำงานด้วยความรัก โดยไม่คำนึงถึงความรู้ที่ได้มานั้นจะเป็นประโยชน์ต่อใคร อะไร ที่ไหน ตนจะได้รับประโยชน์จากการศึกษาหรือไม่
   -ความอยากรู้อยากเห็น
   -ความเพียรพยายาม
   -ความมีเหตุผล
   -ความซื่อสัตย์
   -ความมีระเบียบและรอบคอบ
   -ความใจกว้าง

       ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
♦ สมาคมอเมริกันเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ (American Association for the Advancement of Science-AAAS) กำหนดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไว้ 13 ทักษะ ประกอบด้วย ทักษะขั้นพื้นฐาน (Basic science skill) 8 ทักษะ และทักษะขั้นผสม หรือบูรณาการ (Integrated science process skills) 5 ทักษะ ดังนี้
      
ทักษะขั้นพื้นฐาน
    -ทักษะการสังเกต
    -ทักษะการวัด
    -ทักษะการคำนวณ
    -ทักษะการจำแนกประเภท
    -ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ และสเปซ์กับเวลา
    -ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
    -ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
    -ทักษะการพยากรณ์
ทักษะขั้นผสมหรือบูรณาการ
    -ทักษะการตั้งสมมติฐาน
    -ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
    -ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
    -ทักษะการทดลอง
    -ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป


Adoption (การนำไปใช้)


        นำความรู้ที่ได้ไปจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กในภายภาคหน้าได้ และนำความรู้ที่ได้ไปจัดประสบการณ์ได้อย่างถูกต้อง



Assessment (การประเมิน)


- ตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน

- อาจารย์ อธิบายเพิ่มเติมเนื้อหาให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น 

- บรรยากาศ เงียบสงบ ทุกคนให้ความร่วมมือในการเรียน ไม่ส่งเสียงดัง


Vocabulary (คำศัพท์)


การเปลี่ยนแปลง = Change
ความแตกต่าง = Variety
การปรับตัว = Adjustment
หลักการ = Principle
กฎ = Law
ทฤษฎี = Theory


   






วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2560

Diary no.5 Tuesday, 5 September 2560.



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560เวลา 8.30 - 12.30 น.






Story of subject (เนื้อหาที่สอน)



          ก่อนเรียนอาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมคำศัพท์ โดยครั้งที่1 ให้พูดคำศัพท์ ภาษาไทย 1 คำ ภาษาอังกฤษ 1 คำ โดยคำที่หามานั้นต้องมีเสียงที่คล้องกับคำที่เพื่อนหามา ตัวอย่างเช่น


Nose  Post  มด  รถ  Cat  Fat  ผีเสื้อ  เรือ  Tree  ปี  Love  Serve  แก้ว  แพรวพราว  Brown  Cow  สี  Me ไม้  ไฟ  Blue  ถู  Short  Not  ฟ้า  ป้า  Share  Bear  มือ  ถือ  New  สิว  Rain



         ครั้งที่ 2 คำศัพท์ที่เราพูดออกไปนั้นต้องมีคำแปล และเสียงต้องคล้องกับคำศัพท์ของเพื่อนที่หามาก่อนนั้น โดยวิธีที่ 2 นี้ อาจารย์ได้อธิบายว่า วิธีนี้ง่ายต่อการจำ เพราะเสียงคล้องจองกัน และมีความหมาย ทำให้เราได้จำศัพท์มากขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างเช่น


ดอกไม้ Flower  เธอ You  ปู Crab  Map แผนที่  ผี Ghost  โสด Single  Girl เด็กผู้หญิง  Sing ร้องเพลง  เก่ง Good  Food อาหาร  จาน Plant  แขน Arm  สาม Three  She หล่อน  ก่อน Before  พ่อ Father    เบอร์โทรศัพท์ Telephone Number



         หลังจากจบกิจกรรมแรก อาจารย์ให้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน แล้วให้ค้นคว้านักทฤษฎีที่กล่าวถึงพัฒนาการด้านสติปัญญา 1)ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของบรูเนอร์  2)ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเพียเจต์  *โดยกลุ่มดิฉันได้ ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเพียเจต์*

       1.ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของบรูเนอร์
     
แนวคิดที่สำคัญของ บรูเนอร์ มีดังนี้ 

1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ

  1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
  2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
  3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)








       2.ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเพียเจต์

          เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว 

             พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้

        1)ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ 

        2)ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ 

- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง 

-ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์

        3)ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ 

        4)ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎีได้



   



Adoption (การนำไปใช้)


        ในอนาคตถ้าเราไปสอนเด็ก เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็ก และจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Assessment (การประเมิน)


- ตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา แสดงความคิดเห็นต่างๆภายในกลุ่มของตนเอง

- อาจารย์  เพิ่มเติมความรู้ให้เสมอ เมื่อข้อมูลที่เราหามานั้นไม่ครบถ้วน

- บรรยากาศ  เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม


Vocabulary (คำศัพท์)


การอนุรักษ์ = Conservation
ประสบการณ์ = Experience
การเสริมแรง = Reinforcement
สติปัญญา = Intelligence
ประสบการณ์ = Experience

Diary no.4 Tuesday, 29 August 2560.




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2560
เวลา 8.30 - 12.30 น.



Story of subject (เนื้อหาที่สอน)



           อาจารย์ได้ให้ทำการทดลองเรื่อง แรงดันอากาศ ให้จับกลุ่ม 4 - 5 คน 

⇒ เริ่มต้นจากการหาอุปกรณ์ โดยใช้ขวดน้ำที่มีขนาดเท่ากัน 2 ขวด 


  
  ⇒ เจาะขวดน้ำทั้ง 2 ขวด โดยที่ขวดแรก เจาะก้นขวด 1 รู  ขวดที่2 เจาะข้างขวดต่างระดับ 3 รู

       



⇒จากการสังเกตน้ำขวดที่1 พบว่า เมื่อใส่น้ำลงไปในขวดแล้วปิดฝาขวด น้ำจะหยุดไหลทันที และเมื่อเปิดฝาออก น้ำจะไหลออกมาจาก รูก้นขวดอย่างรวดเร็ว 


       





















⇒การสังเกตขวดน้ำที่2 พบว่า น้ำไหลออกมาจากทั้ง 3 รู อย่างรวดเร็ว โดยน้ำจะไหลลงคนละจุดกัน เมื่อเปิดฝาขวดน้ำ พบว่า น้ำไหลเร็วกว่าเมื่อปิดฝาขวดน้ำ



     


















        เมื่อทดลองเสร็จแต่ละกลุ่มก็ออกมาสรุปผลการทดลองที่กลุ่มของตนเองได้บันทึกมา ซึ่งผลจากทดลองของทุกกลุ่มใกล้เคียงกันคือ เมื่อเปิดฝาขวดน้ำทำให้น้ำไหลผ่านได้ดีกว่าตอนปิดฝา เพราะเมื่อปิดฝาอากาศได้เข้าไปแทนที่น้ำ ทำให้น้ำหยุดไหล


Assessment (การประเมิน)


- ตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมการทดลองวันนี้ ช่วยเพื่อนๆทำการทดลองอย่างสนุกสนาน และได้ความรู้

- อาจารย์  คอยให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาทุกๆคน อธิบายให้เข้าใจอย่างละเอียด

- บรรยากาศ  เพื่อนๆให้ความสนใจกับการทดลอง ร่วมมือกันทดลองจนสำเร็จ



Vocabulary (คำศัพท์)


การสังเกต = Observation
น้ำ = Water
เจาะ = Pierce
ขวดพลาสติก = Plastic Bottles
อากาศ = Climate

  


Diary no.3 Tuesday, 22 August 2560.




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560เวลา 8.30 - 12.30 น.




Story of subject (เนื้อหาที่สอน)


         เริ่มจากแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ โดยมีทั้งหมด 4 สถานที่ ได้แก่

        1.อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ   จังหวัดประจวบคีรีขันธ์



             2. CORO FIELD  จังหวัดราชบุรี





        3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี
      



         เมื่อจบการนำเสนอ อาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาคนละ1แผ่น โดยอาจารย์ให้โจทย์มาว่าทำอย่างไรก็ได้ ให้กระดาษของตนเองลอยได้นานที่สุด เพื่อนส่วนมากเลือกทำจรวด ส่วนดิฉันเลือกที่จะไม่พับกระดาษเลย ซึ่งกระดาษที่ไม่พับเลยก็ลอยได้เหมือนกัน แต่อาจจะไม่ค่อยนานเท่าไหร่




         ครั้งที่ 2 อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มกัน กลุ่มละ 4 -5 คน แล้วช่วยกันคิดหาวิธี ทำอย่างไรก็ได้ ให้กระดาษลอยได้นานที่สุด กลุ่มของดิฉัน เลือกทำจรวด แต่เมื่อทดลองแล้ว จรวดลอยได้ไม่ค่อยนาน พวกเราจึงช่วยกันคิดหาวิธีอื่น โดยปรับให้จรวดมีขนาดเล็กลง เมื่อทดลองผลออกมาว่า จรวดที่มีขนาดเล็กลอยได้นานกว่าจรวดที่มีขนาดใหญ่ 



จรวดขนาดใหญ่

จรวดขนาดเล็ก



         การทดลองครั้งที่ 3 อาจารย์ให้ทำอย่างไรก็ได้ ให้กระดาษลอยได้นานที่สุด โดยไม่ให้ทำเป็นจรวด สามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้ทางอินเตอร์เน็ทได้ กลุ่มของดิฉันได้ทำกระดาษเป็นตัว Y ที่มีหางยาวๆ โดยได้แนวความคิดมากจาก ลูกยาง นอกจากลูกยางกระดาษแล้วกลุ่มอื่นๆก็ยังทำเป็น กังหันกระดาษ ฉีกกระดาษแผ่นเล็กๆแล้วใช้พัด พัดชิ้นกระดาษ เมื่อทำการทดลองแล้ว ผลปรากฏว่า ลูกยางกระดาษลอยได้นานพอสมควร แต่อีกกลุ่มหนึ่งที่ทำลูกยางกระดาษเหมือนกันลอยได้นานกว่า เป็นเพราะว่า ลูกยางกระดาษของอีกกลุ่มหนึ่งมีขนาดใหญ่กว่า ทำให้ลอยได้นานกว่า 


ลูกยางกระดาษ

แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกไปทดลอง

สิ่งประดิษฐ์จากกระดาษในการทดลองทั้ง3ครั้ง


         เมื่อเสร็จการทดลองแต่ละกลุ่มช่วยกันสรุปผลการทดลองแต่ละครั้ง แล้วออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน หลังจากนั้นอาจารย์ได้สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้วันนี้ก็คือ อากาศเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเราตลอดเวลา กระดาษที่ลอยตัวได้เกิดจากลม ซึ่งลมคืออากาศที่เคลื่อนที่ได้ จึงทำให้อากาศเกิดการลอยตัว


Assessment (การประเมิน)


- ตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และมีส่วนร่วมในกลุ่มของตนเอง

- อาจารย์  ให้นักศึกษาสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองได้ โดยจะมีอาจารย์คอยให้คำปรึกษา

- บรรยากาศ  ห้องเรียนเหมาะสำหรับการเรียนและการทำกิจกรรม เพราะมีเนื้อที่กว้างขวาง  


Vocabulary (คำศัพท์)


การทดลอง = Experiment
อากาศ = Air
ธรรมชาติ = Nature
ลม = Wind
จรวด = Rocket






Diary no.2 Tuesday, 15 August 2560.



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management For Early Childhood

วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560เวลา 8.30 - 12.30 น.




Story of subject (เนื้อหาที่สอน)



         แบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 4 - 5 คน เพื่อไปศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆ โดยมีหัวข้อที่อาจารย์กำหนดให้ ดังนี้

                1.ความหมายความสำคัญของวิทยาศาสตร์
                2.พัฒนาการเด็กปฐมวัย
                3.จิตวิทยาการเรียนรู้
                4.แนวคิดของนักการศึกษาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
                5.หลักการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์


       * กลุ่มของดิฉันได้รับมอบหมายงานในข้อหัว หลักการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์  สรุปได้ดังนี้

      หลักการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์  หมายถึง การสร้างประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่จัด   ในรูปของกิจกรรม เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าของเด็กผ่านทางกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การหยิบจับ สัมผัส สังเกต ทดลอง สำรวจ ฯลฯ จากธรรมชาติรอบตัวเด็ก เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเป็นการสอนเด็กให้เข้าใจถึงเหตุและผล การจะส่งเสริมเด็กให้เกิดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้จะต้องสร้างความอยากรู้อยากเห็นให้เด็กตั้งคำถาม ฝึกการคิดต่อยอดอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงการจัดประการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก เนื้อหาจะต้องขึ้นอยู่กับสิ่งที่เด็กความสนใจ สอดคล้องกับธรรมชาติ เหมาะสมตามวัย และเป็นไปตามพัฒนาการของเด็กอีกด้วย


Assessment (การประเมิน)


- ตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังในงานที่อาจารย์มอบหมายให้

- อาจารย์  อธิบายงานอย่างละเอียด ให้คำแนะนำต่างๆ 

- บรรยากาศ  เพื่อนบางคนยังเข้าเรียนไม่ค่อยตรงเวลาเท่าไหร่ และอาจมีพูดคุยกันบ้าง


Vocabulary (คำศัพท์)


หลักสูตร = Curriculum
เด็กก่อนวัยเรียน = Pre-school child
การจัดประสบการณ์ = Experience management
จิตวิทยา = Psychology
เด็กปฐมวัย = Early Childhood


วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2560

Diary no.1 Tuesday, 8 August 2560.




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560เวลา 8.30 - 12.30 น.



Story of subject (เนื้อหาที่สอน)   



          เป็นการเรียนครั้งแรกของรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์ได้แจกแจงเกี่ยวกับการให้คะแนน และอธิบายเกี่ยวกับรายวิชานี้ อาจารย์ได้อธิบายงานแต่ละงานที่ต้องทำอย่างละเอียด เช่น การสร้างBlogger ต้องมีอะไรบ้าง การทำงานแต่ละชิ้นแบ่งกลุ่มกันอย่างไร นอกจากนั้นอาจารย์ยังมอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มไปค้นคว้าหาสถานที่ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาเสนอในชั้นเรียนในครั้งต่อไป




Assessment (การประเมิน)


-ตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา จดรายละเอียดของแต่ละงาน ที่อาจารย์อธิบาย

-อาจารย์  แจกแจงงานแต่ละงานได้อย่างครอบคลุม และละเอียด

-บรรยากาศ  ห้องเรียนเย็นสบาย เหมาะแก่การเรียน